Japanese Whisky อาจจะไม่ได้ผลิตในญี่ปุ่นเสมอไป

5 มิถุนายน 2020
Japanese Whisky อาจจะไม่ได้ผลิตในญี่ปุ่นเสมอไป
Posted in: Lifestyle
More from this author
By MR.LIQ9

คงจะเคยได้ยินมาบ้างว่า Whisky (วิสกี้) หลาย ๆ ชนิด จะต้องผ่านเงื่อนไขสำคัญบางประการที่เข้มงวด ถึงจะสามารถใช้ชื่อนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าจะเพราะสัดส่วนวัตถุดิบ, กรรมวิธี, ระยะเวลาการบ่ม หรือแม้แต่แหล่งการผลิตก็ตาม อย่าง Scotch Whisky (สก๊อตวิสกี้) ที่ผลิตใน Scotland หรือ Irish Whiskey (ไอริชวิสกี้) จากประเทศ Ireland ในขณะที่ Japanese Whisky (เจแปนนีสวิสกี้) กลับดูเหมือนจะมีข้อกำหนดเพียงน้อยนิด ที่แม้จะเป็น Whisky ที่นำเข้ามาบรรจุในญี่ปุ่นก็ยังสามารถเรียก Japanese Whisky ได้

ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ตลาดโลกมีความต้องการ Japanese Whisky สูงขึ้น อย่างเช่น Yamazaki 18 ปี ที่ปัจจุบันที่แทบจะซื้อตามท้องตลาดไม่ได้แล้ว และในปี 2019 รายได้จากการส่งออก Whisky นั้น เติบโตขึ้นเกือบ 50%

ในบรรดา Japanese Whisky ในท้องตลาดของญี่ปุ่นหลาย ๆ ราย ไม่ได้เป็น Spirits ที่ผลิตในประเทศ แต่เลือกที่จะนำเข้า Scotch Whisky หรือ Canadian Whiskey เข้ามาตีแบรนด์ แล้วจ้างให้อีกบริษัททำการบรรจุขวดให้ บางครั้งก็อาศัยนำ Shochu (โชชู) ที่ผลิตโดยการกลั่นจากข้าวขาว, ข้าวบาร์เลย์ หรือมันหวาน มาบ่มแทน Spirits จากมอลต์บาร์เลย์ หรือธัญพืชชนิดที่มักใช้กันทั่วไป ในขณะที่กลุ่มผู้ผลิตที่เรียกตัวเองว่าโรงกลั่น กลับไม่ได้ทำการกลั่น Spirits ด้วยตัวเอง โดยรูปแบบการผลิตนี้ยังไม่ได้มีการบัญญัติห้ามไว้ในข้อบังคับการผลิต Whisky ของญี่ปุ่น

Liam McNulty นักเขียนบทความด้าน Whisky ในกรุงโตเกียวได้กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มแรกมานั้น Japanese Whisky ก็ไม่ใช่ Whisky แบบที่ทั่วโลกเข้าใจอยู่แล้ว เพราะไม่มีใครมากำหนดคำจำกัดความอย่างชัดเจน ซึ่งส่วนมากที่ผลิต ก็เพื่อการบริโภคแต่ภายในประเทศ ด้วยความอยากอวดสิทธิ์ที่มาจากการมีอุตสาหกรรม Whisky เป็นของตัวเอง อีกทั้งอย่างไรก็มีรายได้จากการเก็บภาษีอยู่ดี ความสำคัญในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะเที่ยงตรงจึงถูกลดความสำคัญลงไป

Mamoru Tsuchiya หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้าน Whisky ของญี่ปุ่นเอง ก็ได้มีความกังวลถึงอนาคตของ Japanese Whisky จากการผลิตข้างต้นนี้เช่นกัน จึงได้ทำการเสนอให้ Japan Whisky Research Centre (ศูนย์วิจัยวิสกี้ญี่ปุ่น) ตั้งข้อบังคับ ให้ Japanese Whisky ต้องมีกระบวนการกลั่นในญี่ปุ่นเท่านั้น โดยข้อบังคับนี้มีแผนจะยกมาใช้ในงาน 2020 Tokyo Whisky and Spirits Competition ที่คุณ Tsuchiya เป็นหนึ่งในแกนนำของการประกวด ซึ่งจะอนุญาตเฉพาะ Spirits ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขสามารถเข้าร่วมการประกวดในหมวด Japanese Whisky ได้ โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโรงกลั่น, กลุ่มผู้ผลิตสุราของญี่ปุ่น และกลุ่มอุตสาหกรรมที่สนับสนุนทุนโดยรัฐบาล

แต่ด้วยการระบาดของ COVID-19 ทำให้การเสนอข้อบังคับนี้และงานประกวดต้องถูกระงับไว้ก่อน โดยยังคงมีการรอคอยจากคนในแวดวง Whisky ถึงการถกเถียงในหัวข้อ “Japanese Whisky คืออะไรกันแน่?” 


สำหรับใครที่กำลังมองหา Japanese Whisky สักขวด แต่อยากได้ที่มีกระบวนการผลิตในญี่ปุ่นจริง ๆ ขอแนะนำว่าให้ลองอ่านคำอธิบายของฉลากนั้น ๆ โดยเฉพาะส่วนของแหล่งผลิตให้ดี ๆ หรือถ้าไม่สะดวกอ่าน ก็ลองมาปรึกษากับทาง LIQ9.ASIA ได้เลยครับ

 
อ้างอิง : https://www.nytimes.com/